การส่งรหัสมอร์ส

ต่อมาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้  ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน  ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้  ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิลาบ        เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยีใหม่  โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย  มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร  ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า  และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ    แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษรตัวใด  เช่น  กระแสไฟฟ้าที่ไหลเป็นจังหวะ   ยาว - ยาว - สั้น หมายถึง  ตัวอักษร   “ ”   เป็นต้น  การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข  ท่านผู้อ่านที่มีอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป  คงเคยส่งโทรเลข  การส่งโทรเลขในยุคแรกๆเป็นการส่งข้อความในรูปของรหัส  สั้น-ยาว  ดังที่กล่าวไปแล้ว  รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส

     รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว  ซึ่งจะแทนด้วย  กับ  -   ( จุด  กับ ขีด ) จุด เกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ  ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า      มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขของ ตัวอักษรต่างๆขึ้นมา  รหัสมอร์สของสัญญาณโทรเลขภาษาไทยเป็นดังรายละเอียดข้างล่างนี้

รูปที่ (6) รหัสมอร์สภาษาไทย

ความคิดเห็นผู้ทำ
รหัสมอร์สถือเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วอย่างหนึ่ง  แต่ปัญหาของการส่งรหัสมอร์สคือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  ทำให้ผู้รับสารอาจจะสื่อสารข้อความผิดได้  และปัจจุบันการใช้รหัสมอร์สไม่ค่อยมีปรากฎให้เห็นอยู่แล้ว